ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บ md3skn.org เว็บหวยออนไลน์ยอดนิยมอันดับ 1 เปิดบริการแล้ววันนี้ 24 ชม. ฝาก ถอนด้วยระบบอัตโนมัติ จ่ายไว จ่ายหนัก บาทละ 990

ประวัติกรมเจ้าท่า

หัวข้อนำทาง

ประวัติกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (กรมเจ้าท่าเดิม)


 

           ประเทศไทยติดต่อค้าขายกับต่างชาติมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี   สมัยนั้นมิได้เรียก “กรมเจ้าท่า”    อย่างเช่นปัจจุบัน  เรียก เจ้าภาษีบ้าง   นายด่านบ้างและนายขนอมตลาดบ้าง    ซึ่งทั้งหมดทำหน้าที่บังคับการจอดสมอเรือค้าขาย เก็บค่าธรรมเนียมเรือค้าขายที่เข้าและออกราชอาณาจักร   โดยอยู่ในความปกครอง บังคับบัญชาของกรมพระคลังส่วนคำว่า “กรมท่า”   แต่เดิมคงหมายถึง   เจ้าท่าตามระบบเก่า   หากแต่มีความหมายกว้างขวางออกไปอีก   กรมท่าเป็นส่วนราชการที่มีแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

          เจ้าท่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายทางเรือกับต่างชาติ   เป็นชาวตะวันออกก่อน เช่น จีน และแขก ชาวตะวันตก มีโปรตุเกสเป็นชาติแรก ต่อมามีสเปน ฮอลันดา ญี่ปุ่น อังกฤษ เดนมาร์ก และฝรั่งเศสเข้ามาติดต่อค้าขายตามลำดับการค้าขายกับต่างชาติอยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพระคลังสินค้า ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยพระเจ้าประสาททอง   เป็นหน่วยงานหลวงเพื่อผูกขาดสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าต้องห้าม ไม่ให้พ่อค้าประชาชนซื้อขายโดยตรง   นอกจากผูกขาดซื้อขายสินค้าแล้ว   พระคลังสินค้ายังมีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเรือสินค้าต่างชาติ    ค่าภาษีสินค้าและค่าธรรมเนียมเข้าออก       

            คำ “เจ้าท่า” ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตามประวัติศาสตร์ คำว่า “เจ้าท่า”   มีมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ในรัชกาลพระองค์ การค้าขายทางเรือกับต่างชาติปรากฏว่า รุ่งเรืองยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในยุคนั้น   คำว่า “เจ้าท่า”   สันนิษฐานว่ามาจากภาษาเปอร์เซีย   ซึ่งเรียกว่าเจ้าท่าว่า “Shah Bardar” 

             เจ้าท่าสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี พระเจ้าตากสินมหาราช   ทรงตั้งเจ้าท่าเพื่อดูแลตรวจตราบรรดาเรือแพ   และเก็บค่าธรรมเนียมเรือค้าขายหรือเรือที่เข้าออกประเทศไทย

        เจ้าท่าสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่เกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่น เจษฎาบดินทร์  ได้ว่าการกรมท่า และได้ทรงจัดการคลังของประเทศให้มีรายได้มากยิ่งขึ้นกว่าแต่กาลก่อน

 

 

          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยเรือใหม่ 10 มาตรา เรือเล็ก 7 มาตรา แพ โพงพาง และของลอยน้ำ 3 มาตรา ทางบก 4 มาตรา รวม 24  มาตรา   กฎหมายดังกล่าวนิยมเรียก    “กฎหมายท้องน้ำ” สมัยกัปตัน บูช  เป็นเจ้าท่า ตำแหน่งเจ้าท่าขึ้นอยู่ในกรมพระคลัง ต่อมาย้ายสังกัดอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ   ซึ่งเดิมมีชื่อว่า  “กรมท่า”  (Kromata) พ.ศ. 2432   ย้ายไปอยู่กระทรวงโยธาธิการ   ครั้นพระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ชราภาพ ได้กราบถวายบังคับลาออกจากราชการ กัปตัน  เอ. อาร์. วิล   เป็นเจ้าท่าสืบแทน ต่อมา เมื่อกัปตันวิล  ถึงแก่กรรม ใน พ.ศ. 2438  ได้ยุบตำแหน่งเจ้าท่าลงเป็นตำแหน่งเวรท่ามีนาย โยเกนซัง  ชาวเดนมาร์ก   เป็นเวรท่า ทำหน้าที่ตรวจตราลำแม่น้ำ

          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการของกรมที่ตึกเจ้าสัวเส็งริมแม่น้ำเจ้าพระยา ข้างตลาดน้อย ตรงข้ามปากคลองสาน (คือที่ตั้งของกรมเจ้าท่าในปัจจุบัน) ใน พ.ศ.  2439  ทรงยกฐานะเวรท่าเป็น กรมเจ้าท่าและทรงแต่งตั้ง  ม.ร.ว. พิณ  สนิทวงศ์   เป็นเจ้ากรมเจ้าท่า  พ.ศ. 2444  ย้ายสังกัดกรมเจ้าท่าไปขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล พ.ศ. 2448  กรมเจ้าท่าได้ยกฐานะเป็นกรมชั้นอธิบดี   และ ทรงให้ตราพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย  ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448)   และในปีนี้เอง   ทรงเริ่มปรับปรุงกิจกรรมกรมเจ้าท่าขึ้นใหม่ โดยยกเอางานบางส่วนจากกรมคลองเดิมมารวมกับกรมเจ้าท่า       

 

 

           รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ทรงตรา    พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ซึ่งกำเนิดมาแต่ต้นฉบับภาษาอังกฤษ   แล้วมาแปลเป็นภาษาไทย  ในปีนี้เอง  ทางราชการได้ยกกระทรวงนครบาลซึ่งกรมเจ้าท่าสังกัดอยู่ไปรวมกับกระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2484  กรมเจ้าท่าจึงได้ย้ายสังกัดเป็นครั้งสุดท้าย มาขึ้นกับกระทรวงคมนาคมอย่างเช่นปัจจุบัน

ประวัติวันสถาปนากรมเจ้าท่า

          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทางราชการได้ทำสัญญาจ้างกัปตัน จอห์น  บูช (John buch) ชาวอังกฤษ  มาเป็นผู้ริเริ่มงานฝ่ายเจ้าท่า   มีการลงนามในสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษ   เมื่อวัน 8ฯ9  ค่ำ จุลศักราช  1221  ปีมะแม  เอกศก ตรงกับวันศุกร์ที่  5 สิงหาคม พ.ศ. 2402   กรมเจ้าท่าจึงถือเอาวันที่  5 สิงหาคมของทุกปี   เป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมเจ้าท่า

           

              ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปฏิรูปราชการเพื่อให้การทำงานมีความเหมาะสมกับสภาพของงาน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติปรับปรุง  กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545  กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้รวมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการพาณิชยนาวี  ให้เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมเจ้าท่า แล้วเปลี่ยนชื่อจากกรมเจ้าท่า เป็นกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี สังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี ให้มีการเชื่อมต่อระบบการขนส่งอื่นๆ ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ท่าเรือ อู่เรือ กองเรือไทย และกิจการเกี่ยวเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว ทั่วถึง และปลอดภัย ตลอดจนการสนับสนุนภาคการส่งออกให้มีความเข้มแข็ง